ง่ายๆ กับเห็ดนางฟ้า


เห็ดนางฟ้า  
          ลักษณะโดยทั่วไปของเห็ดนางฟ้า มีกลิ่นหอม เนื้อแน่น เจริญเติบโตได้ดีในช่วงหน้าร้อน (มีค.-เมย.) จะออกดอกในพื้นที่ชุ่มชื้นและเย็น  มีสรรพคุณช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด เห็ดนางฟ้า 1 กรัมให้พลังงาน 300 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย โปรตีน 2.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม ไนอะซิน 2.5 มิลลิกรัม

การดูแลรักษาเห็ดนางฟ้าช่วงเปิดดอก    เห็ดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้แก่ เห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดนางรม
            - อุณหภูมิและความชื้น  จะเจริญได้ดีที่สุดที่ความชื้นภายในโรงเรือนไม่ควรต่ำกว่า 80
%
            - การถ่ายเทอากาศ   ต้องการออกซิเจนสูงมากในระยะกำลังสร้างเส้นใยและเกิดดอก  ถ้ามีก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ไว้มาก จะสังเกตที่ลำต้นจะยืดยาว ดอกจะหุบไม่บาน
                - แสง     แสงมีความจำเป็นต่อการทำให้ดอกเห็ดสมบูรณ์หรือเพื่อให้เห็ดออกดอกเร็วขึ้น ถ้าขาดแสงก้านดอกจะยาวออก ดอกเล็กและผลผลิตต่ำ
                - ศัตรูเห็ดนางฟ้า       1. หนูและแมลงสาบ
                                               2. ไร จะดูดกินน้ำเล้ยงระยะก้อนเชื้อและดอกเห็ด จะระบาดเมื่อความชื้นในโรงเรือนต่ำ
                                               3. แมลงหวี่ จะเกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมากจะมาตอมและวางไข่
                                               4. โรคจุดเหลือง จะเกิดกับดอกเห็ดที่มีอายุมากตกค้างในการเก็บหรือเพราะน้ำที่รดนั้นสกปรก
                                                   ไม่สะอาด
                                               5. ราเมือก ลักษณะเป็นสีเหลือง กลิ่นคาวจัด ระบาดโดยสปอร์ ป้องกันโดยเอาก้อนเชื้อที่หมด
                                                   อายุแล้วและเศษวัสดุในโรงเรือนออกอย่าให้หมักหมม

การกระตุ้นเห็ดนางฟ้าให้ออกดอกพร้อมกัน
            
เรื่องของการเพาะเห็ดนั้น กล่าวได้ว่าขึ้นอยู่กับอัธยาศรัยของผู้เพาะโดยแท้ นอกจากเกษตรกรจะสามารถเลือกชนิดเห็ดที่ชอบ ระยะเวลา ปริมาณที่เพาะได้ตามความสมัครใจ และความพร้อมได้แล้ว เกษตรกรบางรายยังเลือกที่จะบังคับให้เห็ดทะยอยออกดอกให้ได้เก็บทุกวัน  เพื่อให้ได้เงินทุกวันและไม่ให้ล้นตลาด ในขณะที่เกษตรกรอีกคนอาจเลือกที่จะบังคับให้เห็ดออกดอกเป็นชุดๆ พร้อมๆกัน เพื่อให้เก็บได้คราวละมากๆ จะได้ไม่เสียเวลา และใช้วิธีหมุนเวียน(กรณีมีก้อนเห็ดมาก) ส่วนวิธีการบังคับดอกนั้น เฉพาะเห็ดนางฟ้า -นางรม ทำได้หลายวธีทั้งใช้ปุ๋ย ฮอร์โมน แต่ขอเล่าให้ฟังเฉพาะวิธีงดน้ำ เพราะง่ายและประหยัดที่สุด
       1.วิธีการนี้ใช้ได้กับเห็ด ตระกูลนางฟ้า-นางรมเท่านั้น
       2.ใช้วิธีการนี้หลังจากเก็บเห็ดรุ่นแรกแล้ว(ซึ่งเห็ดรุ่นแรกมักจะออกดอกพร้อมกันอยู่แล้ว)
       3.หากอยากให้เห็ดทะยอยออกดอกทุกวัน ก็ใช้วิธีรดนำให้ความชื้นสมำเสมอทุกวัน ก้อนเห็ดจะรัดตัว และเมื่อพร้อมก็จะทะยอยออกดอกให้ได้เก็บทุกวัน มากบ้าง น้อยบ้าง
      4.หากอยากให้ออกดอกเป็นชุด หลังจากเก็บดอกเห็ดชุดแรกเสร็จ ให้ทำความสะอาดหน้าเห็ด หากพบรากเห็ด หรือโคนเห็ดถูกดึงออกไม่หมดติดค้างอยู่ที่คอขวด ให้ใช้ช้อนแคะออกให้หมด จากนั้นงดให้นำเห็ดนางรม-นางฟ้า เป็นเวลา 4-7 วัน หากในระยะ 4-5 วันแรกมีเห็ดแทงดอกให้แคะทิ้ง หรือปล่อยให้ดอกเห็ดแห้ง ห้ามใจอ่อนรดน้ำเด็ดขาด  เมื่อถึงวันที่ 6-7 หรือหากเป็นพันธุ์หนัก วันที่ 9-10 จะเกิดตุ่มดอกเห็ดชุดใหม่ทะยอยเกิดขึ้นพร้อมๆกัน  ให้เริ่มรดนำให้ความชื้น  และอาจกระตุ้นให้ความสดชื่นโดยการใช้เครื่องดื่มชูกำลังที่มีขายทั่วไป อัตรา ขวด ผสมนำ 20 ลิตร ฉีดพ่น หลังให้นำครั้งแรก เห็ดจะออกดอกใด้สมำเสมอยิ่งขึ้น (ห้ามใช้ปุ๋ยเคมีนะครับ เห็ดจะออกดอกครั้งเดียวแล้วหายไปเลยเพราะเสียกำลัง) เท่านี้เห็ดนางฟ้า-นางรมของท่านก็จะออกดอกพร้อมกันเป็นชุดๆแล้ว

ปัญหาที่พบในการเพาะเห็ดเห็ดนางฟ้า
เราสามารถวิเคราะห์ปัญหาในการเพาะเห็ดนางฟ้าออกมาได้ 7 ข้อหลัก ดังนี้

1.เชื้อในถุงไม่เดิน
            สาเหตุ
                   ขณะหยอดเชื้อถุงก้อนเชื้อร้อนเกิน เชื้ออ่อนแอเกินไปและลืมหยอดเชื้อ
               วิธีแก้ไข             ตั้งก้อนเชื้อให้เย็นอย่างน้อย 24 ชั่วโมง คัดเชื้ออ่อนแอทิ้ง ก่อนหยอดเชื้อขณะหยอดเชื้อต้องมี
                                             สติและสมาธิแน่นอน
2. หนอนแมลงหวี่กินเส้นใย
            สาเหตุ
                   แมลงหวี่ไข่ไว้ที่ฝาจุกหรือสำลี
               วิธีแก้ไข                ตรวจสอบสุขภาพอนามัยของโรงเรือน จุก สำลี ต้องนึ่งฆ่าเชื้อ สำลีต้องอุดให้แน่น
                                             ปิดกระดาษให้สนิทอย่าให้มีช่อง
3. เชื้อเดินแต่หยุด มีกลิ่นบูด มีน้ำเมือก มีสีเหลือง-เขียว-ดำ
            สาเหตุ
                   มีราหรือแบคทีเรียปนเปื้อน นึ่งฆ่าเชื้อไม่หมด นึ่งฆ่าเชื้อดีแต่กระบวนการลดความร้อนและ
                                             เปิดหม้อนึ่งไม่ถูกต้อง เชื้อเห็ดที่ใช้มี่คุณภาพ วิธีการหยอดเชื้อไม่ดี บ่มถุงก้อนเชื้อหนาแน่น
                                             เกินไปทำให้การระบายอากาศไม่ดี มีคาร์บอนไดออกไซด์มาก
               วิธีแก้ไข             ให้ทบทวนสาเหตุหลักของการปนเปื้อน ตรวจกระบวนการนึ่ง เรื่อง เวลา อุณหภูมิ จำนวน
                                             ก้อน ไล่อากาศในหม้อนึ่ง ค่อยๆ ลดความร้อน อย่าเปิดหม้อนึ่งอย่างรวดเร็ว ตรวจดูจุกสำลี
                                             แน่นหรือไม่ ใช้เชื้อเห็ดที่บริสุทธิ์ อบรมวิธีการปลิดเชื้อและปรับปรุงวิธีทำงาน ห้องบ่มเชื้อควร
                                             มีอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียล ปรับปรุงเรื่องสุขอนามัยฟาร์ม
4. เชื้อเดินเต็มก้อน แต่ไม่ออกดอก
            สาเหตุ               
เชื้อเป็นหมัน เชื้อไม่ดี สภาพแวดล้อมในโรงเรือนไม่เหมาะสม มีสิ่งที่ปนเปื้อนเช่น รา ไร
                                             แบคทีเรีย หนอน และมีการใช้สารเคมีมากเกินไป
               วิธีแก้ไข             จัดหาเชื้อใหม่ จัดสภาพในโรงเรือนให้เหมาะสม จัดสุขอนามัยฟาร์ม แสง อุณหภูมิ  ความชื้น
                                             การถายเทอากาศและไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลง
5. เกิดดอกเห็ดก้านยาว หมวกดอกไม่แผ่ออก
            สาเหตุ
                   แสงไม่เพียงพอและมีคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป
               วิธีแก้ไข                ปรับแสงให้มากขึ้น จัดให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น
6. เกินหน่อมากแต่ดอกกลับเติบโตน้อย
            สาเหตุ
                   เชื้ออ่อนแอ เงื่อนไขเหมาะแก่การเกิดหน่อ ไม่เหมาะแก่การพัฒนาของดอก ขาดออกซิเจน
                                             และแสง อาหารในก้อนเชื้อไม่เพียงพอหรือไม่มีคุณภาพ เชื้อที่ใช้ไม่ดี มีคุณภาพต่ำ
                                             มีจุลินทรีย์ต่างๆ รบกวน การถ่ายเทอากาศไม่ดี ความชื้นสูงเกินไปและรดน้ำมากเกินไป
                                             เกิดจากการใช้สารเคมีในช่วงเปิดดอก
7. เกิดดอกเพียงรุ่นเดียว รุ่นต่อไปไม่เกิด
            สาเหตุ
                  อาหารในก้อนเชื้อไม่เพียงพอ เกิดการปนเปื้อน  การจัดโรงเรือนไม่ดี เชื้อไม่ดี
               การแก้ไข           ปรับสูตรอาหารใหม่ จัดการเรื่องสุขอนามัยฟาร์ม ปรับเรื่องแสง อุณหภูมิ ความชื้น ขูดลอกผิวส่วนที่
                                           ปากถุงออก ปรับปรุงวิธีการจัดการและเอาใจใส่มากขึ้น

1 ความคิดเห็น:

  1. เห็ดภูฐานผมเลี้ยงในตู้ปลา มีแต่ก้าน และก็ฝ่อ

    ตอบลบ